ราเมนเส้นสด เหนียวหนึบ สูตรต้นตำหรับจากญี่ปุ่น แบบเดียวกับที่ใช้ตามร้านราเมนชื่อดัง
ราเมนเส้นสดที่ใช้กรรมวิธีผลิตแบบพิเศษที่ทำให้เส้นมีความสด เส้นที่ได้เหนียวนุ่ม อร่อย ให้คุณได้ลิ้มรสชาติของเส้นราเมนแท้ๆ
เหมาะสำหรับเมนูราเมนร้อน บะหมี่เย็น และยากิโซบะ หากคุณเป็นคนชอบทานราเมน ขอแนะนำเลยค่ะ
วิธีเตรียมเส้น
ต้มน้ำให้เดือด สางเส้นไม่ให้ติดกันก่อนลวก
*ไม่ควรนำเส้นไปล้างหรือจุ่มน้ำเพื่อล้างแป้งก่อนลวก เพราะจะทำให้เส้นติดกัน
- เมนูราเมน ใช้เวลาลวกเส้นประมาณ 2-3 นาที
- เมนูบะหมี่เย็น ใช้เวลาลวกเส้นประมาณ 2:45-3:15 นาที แล้วนำเส้นไปจุ่มในนำเย็นก่อนเสิร์ฟ
- เมนูยากิโซบะ ใช้เวลาลวกเส้นประมาณ 1:30-1:45 นาที
สาหร่ายเกรดพรีเมี่ยม ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นหลายร้านเลือกใช้
อินานิวะ อุด้ง 1 ใน 3 สุดยอดอุด้งของญี่ปุ่น
เส้นอุด้ง จากอากิตะ เป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำจังหวัด ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น "อุด้งเส้นแห้งดึงมือ" อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น มีลักษณะเด่นคือเส้นบางกว่าอุด้งทั่วไป และมีความเหนียวนุ่มเป็นพิเศษ เนื่องจากผ่านกระบวนการนวดและยืดเส้นด้วยมือแบบดั้งเดิม ทำให้ได้สัมผัสที่นุ่มลื่นและเคี้ยวหนึบ นิยมทานแบบเย็นจุ่มกับซุปโชยุเข้มข้น หรือ แบบร้อนในน้ำซุปดาชิหอมกลมกล่อม
วิธีรับประทาน อินานิวะ อุด้ง
1. ต้มน้ำให้เดือด เตรียมน้ำ 1 ลิตร ต่อเส้นอุด้ง 80-100 กรัม รอให้น้ำเดือด
2. ใส่เส้นลงในน้ำ ค่อยๆ วางเส้นลงในน้ำเดือด
3. ใช้ตะเกียบคนเส้นอุด้งเบาๆ เป็นรูปเลขแปด เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นติดกันขณะต้ม
4. ตรวจสอบสีของเส้นอุด้ง ต้มจนเส้นลายเป็นสีขาวขุ่น ปรับเวลาในการต้มตามเนื้อสัมผัสที่ต้องการ
ต้มนานขึ้นเพื่อให้เส้นนิ่มขึ้น หรือลดเวลาลงเพื่อให้เส้นแข็งขึ้น < เวลาโดยประมาณ >
• อุด้ง : 3 นาที / ฮิมูกิ: 2 นาที
• โซเมน : 90 วินาที / ข้าวต้มเส้น 4-5 นาที
5. เมื่อต้มเสร็จแล้ว ให้รีบนำใส่กระชอนแล้วล้างด้วยน้ำเย็นให้สะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นสุกเกินไป
ส่วนผสมจำเป็นที่ทำให้ขนมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม หอม อร่อย
คินาโกะ (Kinako) ถือเป็นสารให้ความหวานแบบดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ผลิตจากการคั่วถั่วเหลืองคุณภาพดี และนำมาบดเป็นผง ให้รสชาติหวานอ่อนๆ หอมกลิ่นของการคั่ว และกลิ่นถั่ว คินานโกะได้ถูกใช้ในการทำอาหาร และขนมญี่ปุ่นมานานหลายศตวรรษ สามารถประยุกต์ใช้ทำขนมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ขนมสมัยใหม่ หรือโรยบนไอศครีมรสวนิลา หรืชาเขียวรับรองความอร่อยค่ะ
Soba อาหารมงคลแบบดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น!
การทำน้ำซุปดาชิจะเป็นเรื่องง่ายๆ ใช้เวลาเพียง 5 นาที
น้ำซุปดาชิถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำอาหารญี่ปุ่น
ข้าวญี่ปุ่นสายพันธุ์ Yukinkomai จากเมืองนีงาตะ เมืองแห่งข้าว
ข้าวญี่ปุ่นจากเมืองฮอกไกโด เมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์
ชวนคุณมาชิมข้าวญี่ปุ่นแท้ๆ ปลูกที่เมืองฮอกไกโด เมืองที่ธรรมชาติสวยงาม น้ำใสสะอาด ข้าวที่ได้มีรสชาติหวาน นุ่ม เหนียว เคี้ยวเพลิน เหมาะกับทำอาหารญี่ปุ่นอย่างเมนูข้าวซูชิ ข้าวปั้นโอนิกิริ มาลองชิมความแตกต่างของรสชาติข้าวญี่ปุ่นแท้ๆ กันค่ะ หากสนใจทำเมนูข้าวซูชิ เรามีน้ำส้มปรุงรสข้าว และสาหร่ายสำหรับห่อข้าว ขายด้วยนะคะ
วิธีหุงข้าวญี่ปุ่นให้อร่อย
1. ตวงข้าวให้พอเหมาะสำหรับรับประทาน
2. ซาวข้าวด้วยการให้น้ำไหลผ่าน คนเบา ๆ ประมาณ 30 วินาที แล้วเทน้ำออก ทำตามขั้นตอนนี้ประมาณ 2-3 ครั้ง จนน้ำใส
3. กุญแจสำคัญในการหุงข้าวญี่ปุ่นคือน้ำ กะปริมาณน้ำให้เหมาะสม อัตราส่วนโดยประมาณอยู่ที่ข้าว 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน (สามารถปรับระดับน้ำได้หากชอบทานข้าวแข็งหรือข้าวนิ่ม)
4. ควรแช่ข้าวทิ้งไว้ก่อนหุงประมาณ 30 นาที เพื่อให้ข้าวดูดซึมน้ำเวลาหุงข้าวจะนุ่มไม่กระด้าง
5. หลังจากข้าวสุก อย่าเพิ่งเปิดฝา ทิ้งไว้ให้ข้าวระอุในหม้อประมาณ 10-15 นาที หลังจากนั้นค่อยๆ คนให้น้ำระเหย
วิธีการเก็บรักษา
1. เก็บในที่แห้งและเย็น
2. ระวังการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะข้าวจะแห้งแตกเนื่องจากการระเหยของน้ำในข้าว
3. หลีกเลี่ยงการเก็บรักษาใกล้ ผงซักฟอก สเปรย์ปรับอากาศ เครื่องสำอาง และอาหารที่มีกลิ่นแรง เพราะข้าวจะดูดซับกลิ่น
ข้อควรระวัง
1. คุณภาพของข้าวจะเปลี่ยนหากโดนความชื้น
2. ห้ามวางไว้ใกล้เปลวไฟ เนื่องจากติดไฟง่าย
3. ห้ามวางสินค้าอื่นซ้อนทับผลิตภัณฑ์
ข้าวญี่ปุ่นสายพันธุ์ Koshihikari จากจังหวัดนีงาตะ
เป็นพันธุ์ข้าวที่คนญี่ปุ่นนิยมปลูกและรับประทานมากที่สุด เพราะมีรสชาตินุ่มละมุน รสหวาน และเคี้ยวหนึบ จนถูกขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า “ข้าวจากแดนสวรรค์ ” เมื่อหุงจนสุกเม็ดข้าวจะขาวเงางามคล้ายอัญมณี มีความเหนียวเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ แม้จะทิ้งไว้จนเย็นข้าวยังคงมีรสชาติดี นิยมนำมาใช้ทำเมนูซูชิ
วิธีหุงข้าวญี่ปุ่นให้อร่อย
1. ตวงข้าวให้พอเหมาะสำหรับรับประทาน
2. ซาวข้าวด้วยการให้น้ำไหลผ่านคนเบาๆ ประมาณ 30 วินาที แล้วเทน้ำออก ทำตามขั้นตอนนี้ประมาณ 2-3 ครั้ง จนน้ำใส
3. กุญแจสำคัญในการหุงข้าวญี่ปุ่นคือน้ำ กะปริมาณน้ำให้เหมาะสม อัตราส่วนโดยประมาณอยู่ที่ข้าว 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน (สามารถปรับระดับน้ำได้หากชอบทานข้าวแข็งหรือข้าวนิ่ม)
4. ควรแช่ข้าวทิ้งไว้ก่อนหุงประมาณ 30 นาที เพื่อให้ข้าวดูดซึมน้ำจนอ่อนนุ่ม
5. หลังจากข้าวสุก อย่าเพิ่งเปิดฝา ทิ้งไว้ให้ข้าวระอุในหม้อประมาณ 10-15 นาที หลังจากนั้นค่อยๆคนให้น้ำระเหย
วิธีการเก็บรักษา
1. เก็บในที่แห้งและเย็น
2. ระวังการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะข้าวจะแห้งแตกเนื่องจากการระเหยของน้ำในข้าว
3. หลีกเลี่ยงการเก็บรักษาใกล้ผงซักฟอก สเปรย์ปรับอากาศ เครื่องสำอาง และอาหารที่มีกลิ่นแรง เพราะข้าวจะดูดซับกลิ่น
ข้อควรระวัง
1. คุณภาพของข้าวจะเปลี่ยนหากโดนความชื้น
2. ห้ามวางไว้ใกล้เปลวไฟ เนื่องจากติดไฟง่าย
3. ห้ามวางสินค้าอื่นซ้อนทับผลิตภัณฑ์